วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เบต้า-แคโรทีน (β-carotene) ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง


     เบต้า-แคโรทีน (β-carotene) เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ (VitaminA) เป็นสารที่ได้พบได้มากในพืชสีเหลืองส้มหรือเขียวเข้ม สารชนิดนี้เมื่อเรารับประทานเข้าไปจะถูกร่างกายนำไปสังเคราะห์เป็นวิตามินเอมีผลช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็ง แต่จากการทดลองวิตามินเอจากสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา พบว่าไม่ให้ผลในการรักษามะเร็ง ดังนั้นสารป้องกันมะเร็งที่แท้จริงคือเบต้า-แคโรทีนในพืชนั่นเอง มีรายงานการทดลองว่าคนที่รับประทานพืชผักที่มีเบต้า-แคทีนน้อยที่สุดจะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในปอดมากกว่าถึง 7 เท่าของคนที่รับประทานมากที่สุดในกลุ่ม


ประโยชน์ของบีตา-แคโรทีน (β-carotene)
 
  • - ดูแลรักษาผิวพรรณ
  • - ลดความเสี่ยงต่อภาวะมะเร็ง ลดอนุมูลอิสระซึ่งมีผลเกี่ยวข้องกับมะเร็งเนื้อร้าย ทั้งยังพบว่าเบต้า-แคโรทีนให้ผลกระตุ้นเซลล์ภูมิต้านทาน ในร่างกายที่ชื่อ ที-เฮลเปอร์ให้ทำงานต้านสิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น ให้ผลดีกับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็ง
  • - บำรุงสุขภาพของดวงตา เบต้า-แคโรทีนเมื่อโดนย่อยสลายที่ตับแล้วจะได้วิตามินเอ ซึ่งร่างกายนำไปใช้สร้างสารโรดอปซิน ในดวงตาส่วนเรตินา ทำให้ตามีความสามารถในการมองเห็นในตอนกลางคืนได้ และยังลดความเสื่อมของเซลล์ของลูกตา ลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อ กระจกด้วย
  • - ชะลอความแก่ เบต้า-แคโรทีนให้ผลในการลดความเสื่อมของเซลล์จากอนุมุลอิสระ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดกระบวนการแก่
      สำหรับขนาดรับประทานของวิตามินเอเพื่อรักษาสุขภาพโดยทั่วไปคือ 5,000 หน่วยสากล(IU) ซึ่งเทียบเท่ากับเบต้า-แคโรทีน 3 มิลลิกรัม และสำหรับปริมาณที่สมเหตุสมผลของเบต้า-แคโรทีนที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน เพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงคือ 15 มิลลิกรัม ในขณะที่การรับประทานเพื่อหวังผลในรักษาจะต้องได้รับในปริมาณมากกว่านี้

แหล่งของเบต้า-แคโรทีน (β-carotene) พบได้มากในพืชสีเหลืองส้มหรือเขียวเข้ม เช่น แครอท ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน แตงโม หน่อไม้ฝรั่ง แคนตาลูป มะละกอสุก บรอกโคลี ผักบุ้ง มะระ ต้นหอม คะน้า ตำลึง เป็นต้น


ผลข้างเคียง

ขณะนี้ยังไม่พบรายงานผลข้างเคียงที่มีผลเสีย เป็นพิษจากเบต้า-แคโรทีน (β-carotene)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น