วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เชอร์รี่


ผลไม้เพิ่มความสุข เชอรรี่


     รู้หรือไม่ว่า เชอร์รี่ ผลไม้รสเปรี้ยวอมหวาน ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินซีที่มีมากกว่าส้มถึง 30-80 เท่านั้น นอกจากจะช่วยบำรุงผิวพรรณให้สดใส ชะลอความแก่ และช่วยต้านอนุมูลอิสระแล้ว เชอร์รี่ยังมีคุณสมบัติช่วยให้สาวๆ ทั้งหลายอารมณ์ดีขึ้นอีกด้วย

จากผลงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา พบว่าการทานเชอร์รี่มากถึง 20 ผลจะช่วยลดอาการซึมเศร้าได้มากกว่าการทานยา เนื่องจากในผลเชอร์รี่มีสารที่ชื่อว่า แอนโธไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นเม็ดสีในเชอร์รี่ ทำให้ผลไม้ชนิดนี้มีสีสันสดใส และมีสรรพคุณที่สำคัญคือ ทำให้คนกินมีความสุข

ด้วยเหตุนี้แพทย์ตะวัน ตกจึงเรียกเชอร์รี่ว่าเป็น แอสไพรินธรรมชาติถ้าเวลาใดที่สาวๆ รู้สึกเครียดหรือเกิดอาการซึมเศร้าก็ลองเปลี่ยนจากการกินยารักษา มาใช้วิธีธรรมชาติบำบัดด้วยการกินเชอร์รี่นะคะ
 

ที่มา : WomanPuls

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บิลเบอร์รี่ (Bilberry) มีประโยชน์ต่อดวงตาอย่างไร ?

บิลเบอร์รี่ (Bilberry) เป็นไม้พุ่ม ขนาดเล็ก ในตระกูล Ericaccae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Vaccinium myrtillus ซึ่งเป็นพืชสายพันธุ์ใกล้เคียง กับ Blubery ของแถบอเมริกาเหนือ เราจะพบบิลเบอร์รี่ มากในประเทศแถบยุโรป แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ในอังกฤษและยุโรปตอนเหนือ มักจะนิยมนำผลบิลเบอร์รี่สุกมาทำเป็นแยมมานานกว่า 100 ปีแล้วนอกจากนี้ยังนำส่วนของใบและก้าน ไปทำเป็นผลแห้งเพื่อทำเป็นผงชาสำหรับดื่มเพื่อสุขภาพกันอย่างแพร่หลายอีก ด้วย

บิลเบอร์รี่ เริ่มฮิตติดอันดับเครื่องดื่มสุขภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการที่นักบินในหน่วยทหารอากาศของประเทศอังกฤษ นำผลบิลเบอร์รี่สุกมารับประทาน แล้วพบว่าทำให้ความสามารถในการมองเห็นตอนกลางคืนดีขึ้น และทำให้อาการเมื่อยล้าของดวงตาเมื่อใช้สายตานานๆ น้อยลง หลังจากนั้น อีกถึง 20 ปี จึงได้มีการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์กันอย่างจริงจัง ว่าทำให้บิลเบอรี่จึงให้ผลดีต่อสุขภาพของดวงตาอีกครั้งหนึ่ง

จากผลการวิเคราะห์และวิจัยของนักวิทยาศาสตร์จากหลายๆ ประเทศ เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี ได้ค้นพบว่าสารที่สำคัญในบิลเบอร์รี่ มีดังนี้

1. แอนโธไซยาโนไซด์ (Anthocyanosides) สามารถจับกับเซลล์บุผิว (pigmented epithelium) ที่จอภาพเรตินาได้ดี โดยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีเลิศ (Anti-oxidant) ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ และคืนสภาพสาร rhodopsin ได้หลังจากถูกแสง จึงช่วยทำให้การมองเห็นในที่มืดได้ดี
2. แทนนิน (Tannins) มีฤทธิ์ในการสมานแผล (Astingent) และให้ผลในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค เช่น พวกแบคทีเรียบางชนิด
3. ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) เช่นกัน และยังเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนหลายชนิดที่สำคัญต่อมนุษย์
4. กลูโคควินิน (Glucoquinine) เป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นให้การทำงานของอินซูลิน ทำให้การควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น
ประโยชน์ของอาหารเสริมที่สกัดจากบิลเบอร์รี่ต่อสุขภาพดวงตา
* ช่วยถนอมดวงตา ทำให้การมองเห็นในที่มืดดีขึ้น
* ช่วยรักษาอาการตาบอดกลางคืน (Night blindness)
* ช่วยลดอาการเมื่อยล้าของดวงตา เมื่อใช้สายตานานๆ
* ช่วยป้องกันเลนส์ตาและช่วยให้คอลลาเจนในตาในส่วน cornea และหลอดเลือดฝอยแข็งแรงขึ้น
* ช่วยลดอนุมูลอิสระในจอตา ทำให้ป้องกันอาการเสื่อมที่มักจะเกิดกับดวงตาให้น้อยลงได้ เช่น ต้อกระจก ต้อหิน ต้อเนื้อ ตาเสื่อมในคนสูงอายุ (สายตายาว)

สรรพคุณอื่นๆ ที่ค้นพบนอกจากนี้ คือ
* พบว่าสารแทนนิน ในผลบิลเบอร์รี่สามารถบรรเทาอาการท้องเสีย อาการคลื่นไส้ และภาวะอาหารไม่ย่อยได้
* พบว่าสารสกัดจากผลบิลเบอร์รี่ สามารถลดอาการปวดเจ็บจากภาวะเส้นเลือดขอด (Varicose vein) ได้ เนื่องจากภาวะดงกล่าวเกิดจาก ความเสื่อมของเซลล์เช่นกัน
* พบว่าสารสกัดจากผลบิลเบอร์รี่ สามารถใช้ลดอาการอักสเบในช่องปาก และเยื่อบุช่องปากได้
* พบว่าสารสกัดจากผลบิลเบอร์รี่ ช่วยลดอาการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง ที่ทให้เกิดจุดด่างดำของผิวพรรณได้

ปัจจุบัน จึงได้มีการจดบันทึกว่า บิลเบอร์รี่เป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียง จึงมักนิยมนำมาเป็นอาหารเสริม และได้รับความสนใจ ในการนำมาใช้ในการรักษาสุขภาพในปัจจุบัน สำหรับคนสุงอายุ หรือคนที่ต้องการถนอมดวงตาให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นและนานๆ

ที่มาข้อมูล : http://www.samunpai.com/
http://www.vcharkarn.com/
http://www.variety.teenee.com/

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ฟลาโวนอยด์ (flavonoid)ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ต้านโรคหัวใจ


      
     ฟลาโวนอยด์ (flavonoid) เป็นสารประกอบฟีนอลิค มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด ช่วยให้เม็ดเลือดไม่จับตัวเป็นก้อนจนอุดตัน ป้องกันการเกิดมะเร็ง เป็นสารต้านจุลินทรีย์ นอกจากนี้ยังเป็นสารต้านอาการแพ้ ต้านไวรัส ต้านการอักเสบ แต่สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดคือคุณสมบัติในการเป็นสารแอนติออกซิเดนท์ โดยสารฟลาโวนอยด์ (flavonoid) มีความสามารถในการลดการเกิดอนุมูลอิสระ หรือหากเกิดมีอนุมูลอิสระเกิดขึ้นแล้วฟลาโวนอยด์ก็สามารถกำจัดได้

      ฟลาโวนอยด์ (flavonoid พบมากในไวน์และชา ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดในชาวฝรั่งเศสซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมบริโภคเนยและน้ำมันหมูจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุให้ระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูงและเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง (Hyper tension) ด้วย แต่กลับพบว่าชาวฝรั่งเศสมีอัตราการตายเนื่องจากโรคหัวใจและหลอดเลือดน้อยกว่าชาวอเมริกันซึ่งมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารคล้ายกันถึง 2.5 เท่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะชาวฝรั่งเศสจะนิยมดื่มไวน์หลังอาหารซึ่งมีสารฟลาโวนอยด์อยู่ในไวน์นั่นเอง โดยมีการศึกษาพบว่าการดื่มน้ำองุ่นชนิดสีม่วงในปริมาณแก้วละ 5 ออนซ์ วันละ 2 แก้ว จะช่วยลดการเกาะตัวของเม็ดเลือดได้ถึง 60% ซึ่งทำให้เม็ดเลือดไม่จับตัวเป็นก้อนจนอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ แต่ทว่าไวน์นั้นมีราคาสูงถ้ารายได้น้อยๆ อย่างผมคงจะไม่ไหวจริงๆ คงจะซื้อได้แต่ขวดเปล่า 555+ แต่ถ้าเป็นชาละก็พอไหวครับ สารฟลาโวนอยด์ที่สำคัญ ที่พบมากในชาเขียว ได้แก่ คาเทชิน (catechin) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารแอนติออกซิเดนท์ ช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับความเสียหายจากอนุมูลอิสระ และยังทำงานร่วมกับสารแอนติออกซิเดนท์และเอนไซม์อื่นๆ ในลำไส้ ตับ และปอด เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์เนื้องอกก่อตัว มีความสามารถในการป้องกันมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีงานวิจัยพบว่าผูที่ดื่มชาเขียวตั้งแต่วันละ 10 ถ้วยขึ้นไป มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารน้อยลง และผู้ที่ดื่มชาเขียวตั้งแต่วันละ 2 ถ้วยขึ้นไป มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับอ่อนน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่มถึงเกือบ 60% และการดื่มชาประจำก็ให้ผลในการลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้เหมือนกันกับการดื่มไวน์อีกด้วย และพบว่าชาที่สกัดเอาคาเฟอีนออกจะให้ผลน้อยกว่าชาที่ไม่ได้สกัดคาเฟอีน

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ลูทีน (Lutein) ปกป้องจอประสาทตา ป้องกันสายตาเสื่อม


    ลูทีน (lutein) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) แคโรทีนอยด์
กลุ่มแซนโทฟิลล์ เป็นสารที่พบว่าสามารถป้องกันความเสื่อมทางสายตา โดยทำหน้าที่ป้องกันจอประสาทตาจากการทำลายของสารอนุมูลอิสระที่ถูกกระตุ้นโดยแสงอุลตร้าไวโอเลต คอยกรองแสงสีฟ้า ซึ่งเป็นอันตรายต่อจอประสาทตา เช่น แสงจากดวงอาทิตย์ แสงจากจอคอมพิวเตอร์ แสงจากโทรทัศน์ แสงจากหลอดไฟให้ความสว่าง เป็นต้น จึงช่วยให้สายตาของเราเสื่อมได้ช้าลง ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ลูทีน (lutein)ทำหน้าที่เป็นแว่นตากันแดดธรรมชาตินั่นเอง

    นอกจากนี้ยังมีรายงานการวิจัยว่าลูทีน (lutein) ยังสามารถยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ได้อีกด้วย พบว่าในบรรดาสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ทั้งหลายนั้น ลูทีน (lutein)มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการยับยั้งโรคมะเร็งในลำไส้

    ลูทีน (lutein) เป็นสารที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ จะได้รับจากการรับประทานเข้าไปเท่านั้น พบมากในน้ำนมแม่ และผักใบเขียวเข้ม ดังนั้นคุณแม่ควรจะให้ลูกดื่มนมแม่ให้นานที่สุดเพื่อให้บุตรมีสายตาที่ดี ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีไปด้วยเพราะพื้นฐานการเรียนรู้ของเด็กส่วนใหญ่จะเกิดจากการมองเป็นสำคัญ หรือหากมีปัญหาไม่สามารถให้นมบุตรได้ ก็ควรจะเสริมโดยการให้ทานผักใบเขียวแทนเพื่อพัฒนาการและสุขภาพที่ดีของบุตร

ภาพจาก http://news.nipa.co.th

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ไลโคปีน (Lycopene) สารต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง


       ไลโคปีน (Lycopene) เป็นสารกลุ่มแคโรทีนอีกตัวหนึ่งที่อยากจะแนะนำให้รู้จัก ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ที่กำลังมาแรงและสำคัญไม่แพ้เบต้า-แคโรทีน ไลโคปีน(Lycopene) เป็นสารสีแดงที่พบมากในมะเขือเทศ ไลโคปีน (Lycopene) เป็นสารที่สามารถป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังได้หลายชนิดโดยเฉพาะโรคมะเร็งต่างๆ เนื่องจาก ไลโคปีน(Lycopene) มีคุณสมบัติพิเศษในการจับกับ อนุมูลอิสระ (Free radical) ในร่างกายซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งของการทำลายสายดีเอ็นเอและนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งในที่สุด หรือที่เรียกกันว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ"แอนตี้ออกซิแดนท์ ( Antioxidant)" นั่นเอง ไลโคปีน(Lycopene) ยังเป็นสารที่มีฤทธิ์ที่ดีมากในการเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ ( Antioxidant) ในร่างกายช่วยยั้บยั้งการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันชนิด Low density lipoprotein (LDL) ซึ่งเป็นไขมันชนิดไม่ดี จึงสามารถป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว(Atherosclerosis)ได้นอกจากนี้มีรายงานว่าการรับประทานมะเขือเทศหรือผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศเป็นประจำ จะช่วยลดความความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ ที่ชัดเจนที่สุดคือ มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) รองลงมา คือมะเร็งปอด กระเพาะอาหาร นอกจากนี้ก็ยังแสดงให้เห็นประโยชน์ของการได้รับไลโคปีน(Lycopene) ในการลดความเสี่ยงของ มะเร็งตับอ่อน ลำไส้ใหญ่ (colon) ทวารหนัก คอหอย ช่องปาก เต้านม ปากเป็นต้น

       แหล่งที่พบไลโคปีน (Lycopene) จะพบมากในมะเขือเทศ โดยเฉพาะมะเขือเทศที่ผ่านความร้อนจะทำให้การยึดจับของไลโคปีน (Lycopene) กับเนื้อเยื่อของมะเขือ เทศอ่อนตัวลง ทำให้ไลโคปีน(Lycopene) ถูกร่างกายนำไปใช้ได้ดีกว่า นอกจากนี้ความร้อนและกระบวนการต่างๆในการผลิตผลิตภัณฑ์มะเขือเทศยังทำให้ไลโคปีน (Lycopene) เปลี่ยนรูปแบบ (จากไลโคปีนชนิด "ออลทรานส์"(all-trans-isomers)เป็นชนิด "ซิส" (cis -isomers)) คือ เป็นชนิดที่ละลายได้ดีขึ้น และนอกจากในมะเขือเทศแล้ว ยังพบได้ในฝรั่ง แตงโม และส้มโอ แต่ในมะเขือเทศจะเป็นแหล่งไลโคปีน (Lycopene) ที่พบมากที่สุดและดีที่สุด

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เบต้า-แคโรทีน (β-carotene) ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง


     เบต้า-แคโรทีน (β-carotene) เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ (VitaminA) เป็นสารที่ได้พบได้มากในพืชสีเหลืองส้มหรือเขียวเข้ม สารชนิดนี้เมื่อเรารับประทานเข้าไปจะถูกร่างกายนำไปสังเคราะห์เป็นวิตามินเอมีผลช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็ง แต่จากการทดลองวิตามินเอจากสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา พบว่าไม่ให้ผลในการรักษามะเร็ง ดังนั้นสารป้องกันมะเร็งที่แท้จริงคือเบต้า-แคโรทีนในพืชนั่นเอง มีรายงานการทดลองว่าคนที่รับประทานพืชผักที่มีเบต้า-แคทีนน้อยที่สุดจะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในปอดมากกว่าถึง 7 เท่าของคนที่รับประทานมากที่สุดในกลุ่ม


ประโยชน์ของบีตา-แคโรทีน (β-carotene)
 
  • - ดูแลรักษาผิวพรรณ
  • - ลดความเสี่ยงต่อภาวะมะเร็ง ลดอนุมูลอิสระซึ่งมีผลเกี่ยวข้องกับมะเร็งเนื้อร้าย ทั้งยังพบว่าเบต้า-แคโรทีนให้ผลกระตุ้นเซลล์ภูมิต้านทาน ในร่างกายที่ชื่อ ที-เฮลเปอร์ให้ทำงานต้านสิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น ให้ผลดีกับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็ง
  • - บำรุงสุขภาพของดวงตา เบต้า-แคโรทีนเมื่อโดนย่อยสลายที่ตับแล้วจะได้วิตามินเอ ซึ่งร่างกายนำไปใช้สร้างสารโรดอปซิน ในดวงตาส่วนเรตินา ทำให้ตามีความสามารถในการมองเห็นในตอนกลางคืนได้ และยังลดความเสื่อมของเซลล์ของลูกตา ลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อ กระจกด้วย
  • - ชะลอความแก่ เบต้า-แคโรทีนให้ผลในการลดความเสื่อมของเซลล์จากอนุมุลอิสระ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดกระบวนการแก่
      สำหรับขนาดรับประทานของวิตามินเอเพื่อรักษาสุขภาพโดยทั่วไปคือ 5,000 หน่วยสากล(IU) ซึ่งเทียบเท่ากับเบต้า-แคโรทีน 3 มิลลิกรัม และสำหรับปริมาณที่สมเหตุสมผลของเบต้า-แคโรทีนที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน เพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงคือ 15 มิลลิกรัม ในขณะที่การรับประทานเพื่อหวังผลในรักษาจะต้องได้รับในปริมาณมากกว่านี้

แหล่งของเบต้า-แคโรทีน (β-carotene) พบได้มากในพืชสีเหลืองส้มหรือเขียวเข้ม เช่น แครอท ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน แตงโม หน่อไม้ฝรั่ง แคนตาลูป มะละกอสุก บรอกโคลี ผักบุ้ง มะระ ต้นหอม คะน้า ตำลึง เป็นต้น


ผลข้างเคียง

ขณะนี้ยังไม่พบรายงานผลข้างเคียงที่มีผลเสีย เป็นพิษจากเบต้า-แคโรทีน (β-carotene)

วิตามินซี (VitaminC) ต้านอนุมูลอิสระ


      วิตามินซี (VitaminC) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ลักษณะเป็นผลึกสีไม่มีกลิ่น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่ากรดเอสคอร์บิค (ascorbic acid) ซึ่งเราจะรู้จักกันดีในการป้องกันเลือดออกตามไรฟัน วิตามินซี(VitaminC)มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมตาบอลิซึม (metabolism) ของกรดอะมิโน และทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ของปฏิกิยาทางชีวเคมีต่างๆในร่างกาย วิตามินซี (VitaminC)เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ที่ดีชนิดหนึ่ง นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้อย่างดี วิตามินซี (VitaminC)ยังช่วยลดสารก่อมะเร็งไนโตรซามีนในระบบทางเดินอาหารอีกด้วย ดังนั้นจึงแนะนำว่าหากว่าเรารับประทานอาหารเนื้อสัตว์ที่ผ่านการแปรรูป เช่น ไส้กรอก แหนม เบคอน หรือกุนเชียงซึ่งสารไนไตรท์ ก็ควรแกล้มด้วยกะหล่ำปลีสดมากๆ หรือน้ำสมหรือน้ำฝรั่งสักแก้ว เพื่อให้วิตามินซ(VitaminC)ในกะหล่ำปลีหรือในน้ำผลไม้ไปยับยั้งการเปลี่ยนสารไนไตรท์เป็นไนโตรซามีน

นอกจากนี้วิตามินซี(VitaminC)ยังเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสารชีวะเคมีที่สร้างคอลลาเจน (collagen) ซึ่งเป็นโปรตีนส่วนหนึ่งของโครงสร้างกระดูกอ่อนของมนุษย์ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผิวหนัง กล้ามเนื้อ และปอดอีกด้วย วิตามินซี(VitaminC)จะสร้างเสริมการผลิตคอลลาเจนมากขึ้น ซึ่งคอลลาเจนเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่จะหยุดยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ และวิตามินซี(VitaminC)ยังเป็นตัวเสริมพลังให้กับวิตามินอีในการต่อสู้กับอนุมูลอิสระอีกด้วย


ประโยชน์ของวิตามินซี (VitaminC) มีหน้าที่หลักๆ  เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ซึ่งจะป้องกันร่างกายจากอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดจากขบวนการออกซิเดชันในร่างกาย หรือจากมลพิษ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ซึ่งจะทำให้เซลล์ต่างๆ เสื่อม หรืออาจเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ที่ผิดปกติได้ วิตามินซี(VitaminC) ยังทำหน้าที่เป็นตัวช่วย (Cofactor) ในขบวนการต่างๆ ของร่างกาย เช่น การสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อเกี่ยวกับผิวหนัง และของเส้นเลือดให้แข็งแรง ไม่เปราะ ยืดหยุ่นได้ดี และการหายของแผลต่างๆ เป็นปกติ วิตามินซี(VitaminC) ยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งสามารถป้องกัน และรักษาหวัดได้ และยังลดการอักเสบจากการติดเชื้อ และยังมีรายงานว่า วิตามินซี(VitaminC)สามารถลดระดับคอเลสเตอรอล  และคลายเครียด เนื่องจากสามารถเสริมการทำงานของต่อมหมวกไต 


อันตรายจากการขาดวิตามินซี
ผู้ที่ขาดวิตามินซี
(VitaminC)มักมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดตามข้อต่อของร่างกาย เลือดออกตามไรฟัน เจ็บกระดูก แผลหายช้า เนื่องจากวิตามินซี(VitaminC)ทำหน้าที่ต่อต้านการอักเสบและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ของร่างกาย การได้รับวิตามินซี(VitaminC)ไม่เพียงพอจะทำให้เส้นเลือดในร่างกายอ่อนแอ และทำให้บาดแผลที่เกิดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกายหายช้ากว่าปกติ เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย คุณสมบัติของวิตามินซี(VitaminC) คือ เป็นตัวต่อต้านสารก่อมะเร็งและช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน ถ้าร่างกายขาดวิตามินซีจะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลงและทำให้ ติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ง่าย ในกรณีของเด็กหรือผู้สูงอายุที่ได้รับวิตามินซี(VitaminC)น้อยกว่าวันละ 10 มิลลิกรัม อาจทำให้เป็นโรคลักปิดลักเปิดได้ หากร่างกายขาดวิตามินซี(VitaminC)มากเกินปกติอาจทำให้มีลูกยาก เป็นโรคโลหิตจางและมีภาวะความผิดปกติทางจิตได้ 


อันตรายจากการได้รับวิตามินซีมากเกินไป
      
เกาต์ เนื่องจากวิตามินซี
(VitaminC)มีหน้าที่ในการช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกาย การรับวิตามินซี(VitaminC)ในปริมาณมากจะทำให้เกิดปัญหาการสะสมธาตุเหล็กตามกระดูกข้อ ต่อต่างๆ มากขึ้น และอาจทำให้เกิดโรคเกาต์ได้ในที่สุด
       นิ่วในไต การได้รับวิตามินซี
(VitaminC)มากเกินไปอาจไปรบกวนการดูดซึมของทองแดงและซีลีเนียม ซึ่งส่งผลให้มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดนิวในไต หากได้รับวิตามินซี(VitaminC)เกินวันละ 10,000 มิลลิกรัม อาจทำให้ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อได้


แหล่งของวิตามินซี(VitaminC) ได้แก่ 
         ผักใบเขียวต่างๆ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี ผักโขม มะเขือเทศ มะละกอเป็นต้น 
         ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะขามป้อม อะเซโรลาเชอรี่ ฝรั่ง สับปะรด มะนาว ส้ม สตรอว์เบอร์รี่ เป็นต้น       
         ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และเครื่องสำอาง